- การกระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้ากระแสตรงผ่านกะโหลกศีรษะ (transcranial Direct Current Stimulation; tDCS) เป็นการกระตุ้นที่ส่งผลต่อสมองส่วนต่างๆ เป็นบริเวณกว้างและไม่เฉพาะเจาะจง
- การกระตุ้นซ้ำด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านกะโหลกศีรษะ (repetitive Transcranial Magnetic Stimulation; rTMS) เป็นการกระตุ้นที่ส่งผลต่อสมองเฉพาะบริเวณที่ได้รับการกระตุ้นเป็นบริเวณแคบกว่าการกระตุ้นด้วย tDCS
การรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า TMS
TMS คืออะไร?
Transcranial magnetic stimulation (TMS) เป็นนวัตกรรมการรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งการรักษาจะคล้ายคลึงกับการรักษา MRI คลื่นแม่เหล็ก ที่กระตุ้นเซลล์สมองและอวัยวะต่างๆ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานของระบบประสาทกล้ามเนื้อ
โดยการทำงานของแม่เหล็กไฟฟ้า TMS คือการเหนี่ยวนำคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แล้วส่งพลังงานจากหัวจ่ายพลังงานผ่านกะโหลกไปยังสมอง ก่อให้เกิดการเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าในเซลล์สมองและส่งต่อพลังงานไปยังเซลล์สมองที่อยู่ต่อเนื่องกัน โดยพลังงานจะทำการเปลี่ยนแปลงความต่างศักย์ของเซลล์ประสาท และเกิดการปรับเปลี่ยนการทำงาน ทำให้เกิดการกระตุ้น หรือยับยั้งเซลล์สมอง ซึ่งขึ้นอยู่กับทิศทางและขนาดของกระแสไฟฟ้าที่ได้รับ
การกระตุ้นแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
หลักการทำงานของ TMS
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้ จะเข้าไปกระตุ้นเซลล์สมองและเส้นประสาท เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานของเซลล์ และเกิดการหลั่งสารสื่อประสาทที่จำเป็นต่อการซ่อมแซมระบบประสาท เมื่อเซลล์สมองได้รับพลังงาน จากการกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ภายในเซลล์สมองจะเกิดการเปลี่ยนแปลง การไหลของประจุไฟฟ้าชนิดต่างๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความต่างศักย์ที่บริเวณผิวเซลล์ ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนการทำงานของเซลล์สมอง ดังนี้
- ปรับเปลี่ยนการหลั่งสารสื่อประสาทบางตัว เช่น catecholamine, dopamine ทำให้เพิ่มหรือลดการทำงานของเซลล์ประสาท รวมถึงช่วยให้เซลล์ประสาทมีการทำงานประสานกันมากขึ้น (synaptic plasticity)
- เพิ่มการทำงานของเซลล์ผนังหลอดเลือด ทำให้เพิ่มการไหลเวียนของเลือดบริเวณที่ได้รับการกระตุ้นมากขึ้น (increase regional blood flow)
- เพิ่มการหลั่งปัจจัยบำรุงสมอง (activity-dependent brain-derived neurotrophic factor -BDNF) ส่งผลให้เกิดการงอกใหม่ของเส้นใยประสาท ผลดังกล่าวอาจเกิดไม่เท่ากันในทุกคนเนื่องจากปัจจัยทางพันธุกรรมที่แตกต่างกัน
ทำไม TMS ถึงเป็นทางเลือกการรักษา?
การรักษาด้วยการกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ได้รับการยอมรับว่าเป็นมาตรฐานของการรักษาในหลายภาวะ โดยการรับรองขององค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา (approved by US FDA) จึงมีการมีการนำเครื่องมือมาใช้เพื่อช่วยในการฟื้นฟูความบกพร่องในการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ และการรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางด้าน TMS และเวชศาสตร์ฟื้นฟู จะยิ่งทำให้เพิ่มศักยภาพ ให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตปกได้เร็วยิ่งขึ้น
ข้อดีของการรักษาด้วย TMS
วิธีรักษาด้วย TMS จะไม่ทำผู้เข้ารับการรักษาเจ็บหรือเกร็ง เนื่องจากไม่มีการผ่าตัด หรือฉีดสิ่งใดเข้าสู่ร่างกาย แต่ขณะที่ทำการรักษา ผู้ป่วยอาจรู้สึกถึงการกระตุกของกล้ามเนื้อเล็กน้อยแต่จะไม่สร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ป่วย การทำTMS จึงสามารถรักษาเป็นครั้งๆได้ ทุกครั้งที่เข้ารับการรักษา ไม่ต้องนอนพักฟื้นและสามารถกลับบ้านได้ทันที
ข้อควรระวังในการใช้งาน TMS
การรักษาด้วย TMS (Transcranial Magnetic Stimulation) มีความปลอดภัยสูง และผลข้างเคียงต่ำ แต่การรักษาด้วย TMS นั้น มีข้อยกเว้นสำหรับ ผู้ที่มีอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ฝังในร่างกาย ผู้ที่มีอาการชักที่ไม่สามารถควบคุมได้ ผู้ที่มีโลหะฝังบริเวณศีรษะ เป็นต้น
กลุ่มอาการที่รักษาด้วย TMS
- อัมพฤกษ์-อัมพาต
- โรคหลอดเลือดสมอง
- โรคพาร์กินสัน
- โรคทางจิตเวช เช่น ภาวะซึมเศร้า
- โรคไมเกรน
- โรคอัลไซเมอร์
โรคใดบ้างที่ใช้เทคโนโลยี TMS ร่วมรักษาได้
1. โรคในระบบประสาทส่วนกลาง(สมองและไขสันหลัง) ได้แก่ การกระตุ้นสมองในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า, การปรับสมดุลของสมองในโรคไมเกรน ช่วยฟื้นฟูภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง,โรคสมองเสื่อม,โรคลมชัก,โรคสมองพิการในเด็กเล็ก และการบาดเจ็บของประสาทไขสันหลัง
2. โรคของระบบประสาทภายนอกสมอง ใช้เพื่อลดความเจ็บปวดเรื้อรังจากระบบเส้นประสาท ภาวะกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง ปวดกล้ามเนื้อ คอ บ่า ไหล่ ปวดหลังเรื้อรัง ใช้ลดความเจ็บปวดจากโรคหมอนรองกระดูกสันหลังชนิดต่างๆ โดยที่ผ่านการรักษาแบบพื้นฐานแล้วไม่ตอบสนอง หรือมีภาวะข้างเคียงจากการรักษาด้วยยา
ขั้นตอนการรักษากับชีวาแคร์
1. นัดหมาย เพื่อเข้ารับการปรึกษา และวางแผนรักษา
2. ตรวจประเมินอย่างละเอียด โดยคุณหมอเฉพาะทาง
3. วางแผนการรักษาที่เหมาะสม เป็นรายบุคคล
4. เข้ารับการรักษา ตามวัน-เวลา ตามแผนการรักษา
ระยะเวลาในการรักษา
ใช้เวลาในการรักษาต่อครั้งประมาณ 20-60 นาที
โดยการรักษาแต่ละครั้งจะได้รับการประเมินอาการจากแพทย์เชี่ยวชาญสมองและระบบประสาท แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูเฉพาะทางด้าน TMS