โปรแกรมรักษาโรคนอนไม่หลับด้วย TMS
รักษาโรคนอนไม่หลับด้วย TMS
โรคนอนไม่หลับ เกิดจากภาวะการทำงานของสมองไม่หยุดคิด ความเครียด ปัญหาทางจิตใจ ปัญหาสุขภาพ หรือปัจจัยอื่น ๆ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีกระทบทางด้านอารมณ์ ความคิด พฤติกรรม ผู้ป่วยมักมีอาการอ่อนเพลีย สมองไม่แจ่มใส ไม่สามารถนอนหลับสนิทหรือหลับได้เพียงพอ ซึ่งอาจส่งผลไปถึงประสิทธิภาพการทำงานและความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
เทคโนโลยี Transcranial Magnetic Stimulation (TMS) คืออะไร?
Transcranial Magnetic Stimulation (TMS) คือ เทคโนโลยีการรักษาด้วยการกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านกะโหลกศีรษะจากภายนอก โดยจะปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปกระตุ้นเซลล์ประสาทในสมองให้ทำงานได้ดีขึ้นเพื่อฟื้นฟูประสิทธิภาพการทำงานของสมองและลดอาการของโรคซึมเศร้า ซึ่งนอกจากโรคนอนไม่หลับแล้ว TMS ยังมาใช้รักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมองอื่น ๆ ได้อีกด้วย
TMS รักษาโรคนอนไม่หลับได้อย่างไร ?
การรักษาโรคนอนไม่หลับด้วย TMS คือการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปเหนี่ยวนำ และกระตุ้นทำให้เกิดกระเเสประสาท แล้วทำให้เกิดการหลั่งสารเคมีในสมองและปรับการทำงานของสมองให้อยู่ในสภาวะปกติ โดยการรักษาด้วย TMS นี้ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ว่ามีความปลอดภัยเเละมีประโยชน์ช่วยในการรักษานอนไม่หลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นตอน รักษาโรคนอนไม่หลับด้วย TMS ทำอย่างไร ?
-
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองและระบบประสาท จะทำการประเมินและซักประวัติอย่างละเอียดเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวางแผนการรักษา
-
ในวันที่เข้ารับการทำ TMS ผู้ป่วยจะได้รับการรักษา ในห้อง TMS โดยจะนั่งบนเก้าอี้ที่ปรับเอน แล้ววางศีรษะในตำแหน่งที่เหมาะสมเเละสบาย จากนั้น สวมอุปกรณ์บริเวณศีรษะและวัดจุดที่เหมาะสมในการส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าลงไป
-
นักกายภาพบำบัด (ผ่านการอบรมการใช้เครื่องมือ TMS อย่างเชี่ยวชาญ) จะนำอุปกรณ์ปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มาทาบบนศีรษะในตำแหน่งที่ต้องการกระตุ้นและทดสอบความแรงของการกระตุ้นที่เหมาะสม แล้วทำการกระตุ้น โดยจะกระตุ้นติดต่อกันเป็นเวลา 30-60 นาที โดยไม่ต้องวางยาสลบหรือยาระงับความรู้สึก ซึ่งความถี่ในการรักษาจะอยู่ที่ประมาณ 5 ครั้งต่อสัปดาห์ ติดต่อกันประมาณ 4-6 สัปดาห์ โดยจำนวนครั้งและระยะเวลาการรักษาจะขึ้นกับอาการของผู้ป่วยแต่ละราย
ใครเหมาะกับการรักษาด้วย TMS ?
แพทย์จะทำการแนะนำการรักษาด้วยวิธี TMS ในผู้ป่วยโรคนอนไม่หลับที่มีอาการเรื้อรัง ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ผู้ป่วยที่ทนต่อผลข้างเคียงจากยานอนหลับไม่ได้ หรือในกลุ่มผู้ป่วยโรคนอนไม่หลับที่รักษาด้วยยามามากกว่า 1 ปี แล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือไม่ตอบสนองต่อยาและปริมาณยาที่สูงขึ้น
ผลการรักษาโรคนอนไม่หลับด้วย TMS
การรักษาด้วย TMS จะช่วยลดอาการสมองไม่หยุดคิด และอาการวิตกกังวลลงได้ แล้วยังช่วยให้มีสมาธิและทำให้การนอนหลับดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อพฤติกรรมในด้านบวก ทั้งในแง่การเข้าสังคมเเละการใช้ชีวิต การรักษาโรคนอนไม่หลับด้วย TMS นี้เป็นการรักษาที่จะทำให้อาการของภาวะนอนไม่หลับดีขึ้นได้ ภายใน 2-3 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นกับจำนวนครั้งที่ทำการกระตุ้นและความรุนแรงของโรคแต่ละราย
สรุป การรักษาโรคนอนไม่หลับด้วยเทคโนโลยี TMS เป็นทางเลือกการรักษาที่มีผลข้างเคียงน้อยเเละสามารถรักษาโรคนอนไม่หลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นทางเลือกของการรักษาของผู้มีภาวะนอนไม่หลับที่อาการเรื้อรัง และดื้อต่อการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ อย่างไรก็ตามการรักษาด้วย TMS ต้องทำโดยเเพทย์ผู้เชี่ยวชาญเเละเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญสูงเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด