ยานอนหลับเสี่ยงสมองเสื่อม TMS ทางเลือกใหม่สำหรับโรคนอนไม่หลับ
อาการนอนไม่หลับ เกิดขึ้นได้บ่อย ทั้งวัยทำงานและผู้สูงอายุ โดยผลกระทบจากการนอนไม่หลับ ไม่ใช่แค่ทำให้กลางวันง่วงหงาวหาวนอนเท่านั้น แต่ยังมีผลมากกว่านั้นคือ เร่งให้เกิดโรคสมองเสื่อม อ้างอิงจากการสำรวจ ผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมพบว่าราว 40% มีอาการนอนไม่หลับมาก่อนและหากรักษาอาการนอนไม่หลับด้วยการกินยานอนหลับเป็นประจำ จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของโรคสมองเสื่อมขึ้นอีก 30% โดยยากลุ่มที่มีปัญหามากที่สุดคือกลุ่ม Benzodiazepine เช่น Lorazepam, Clonazepam, Diazepam เป็นต้น
กลไกทางสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์นี้ซับซ้อน ภาวะการขาดการนอนหลับแสดงให้เห็นว่าเพิ่มระดับโปรตีนอะไมลอยด์-β ซึ่งเกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's Disease - AD) ซึ่งแสดงว่าการนอนหลับไม่ดีอาจมีส่วนในการพัฒนาภาวะสมองเสื่อม นอกจากนี้ ภาวะนอนไม่หลับเรื้อรังอาจทำให้เกิดการรั่วของแนวเลือด-สมอง (Blood-Brain Barrier) นำไปสู่การอักเสบในสมองและการเสื่อมถอยของความสามารถทางปัญญาที่ทำให้เกิดสมองเสื่อมตามมา
เบนโซไดอะซีพีน(ยานอนหลับ) และความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อม
ยาเบนโซไดอะซีพีนเป็นยาที่มักใช้รักษาอาการนอนไม่หลับ แต่มีความเสี่ยงสูงสำหรับผู้สูงอายุ การใช้ยานี้เป็นประจำจะส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงในการพัฒนาเป็นภาวะสมองเสื่อมถึงเกือบ 2 เท่า โดยเฉพาะยาเบนโซไดอะซีพีนชนิดออกฤทธิ์สั้นและยากลุ่ม Z-hypnotics มีการแสดงว่าเพิ่มการเสื่อมของการใช้สติปัญญาถึง 33% และเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นภาวะสมองเสื่อมทุกประเภทถึง 79% ผลของยากดระบบประสาททำให้เกิดความสับสน มีปัญหาความจำ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้ม ซึ่งยุ่งยากต่อการจัดการกับผู้ป่วยที่อาจมีภาวะสมองเสื่อมอยู่แล้ว
ทางเลือกการรักษาใหม่ : การกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านกะโหลกศีรษะ (TMS)
การกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านกะโหลกศีรษะ (Transcranial Magnetic Stimulation - TMS)
เป็นทางเลือกใหม่ที่ไม่ต้องใช้ยา ปรับสมดุลการนอนหลับและสุขภาพสมอง
TMS ใช้สนามพลังแม่เหล็กไฟฟ้า กระตุ้นเซลล์ประสาทในสมอง ช่วยปรับปรุงการหลั่งสารเคมีในสมองออกมาอย่างเป็นปกติ ซึ่งคุณภาพการนอนหลับดีขึ้นในผู้ป่วยบางราย แม้ว่าจะยังต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อยืนยันประสิทธิภาพสำหรับการนอนไม่หลับที่เกี่ยวข้องกับภาวะสมองเสื่อม แต่การค้นพบเบื้องต้น ชี้ว่า TMS อาจช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนหลับได้โดยไม่มีผลข้างเคียงที่เกี่ยวข้องกับยารักษา
TMS ช่วยในการนอนไม่หลับอย่างไรและประสิทธิภาพ
กลไกการทำงาน : TMS เป็นกระบวนการรักษาจากภายนอก โดยใช้สนามแม่เหล็กกระตุ้นเซลล์ประสาทในสมอง โดยเฉพาะในบริเวณ dorsolateral prefrontal cortex (DLPFC) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์และการทำงานของสมองรวมถึงการนอนหลับ
TMS ช่วยปรับปรุงการนอนหลับโดยการ
-
ปรับโครงสร้างการนอนหลับ สามารถเพิ่มการนอนหลับแบบคลื่นช้าๆ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการนอนหลับที่มีคุณภาพ
-
ลดภาวะสมองตื่นตัวเกินไป โดยการปรับการทำงานของสมอง ช่วยลดภาวะสมองตื่นตัวเกินไปที่ทำให้เกิดการนอนไม่หลับ
-
เพิ่มการหลั่งของสารสื่อประสาท TMS ช่วยเพิ่มการหลั่งสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ เช่น กรดแกมมาอะมิโนบิวทีริก (GABA) และปัจจัยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นประสาทในสมอง (BDNF)
การรักษา (Details of therapy)
-
ความถี่ในการรักษาขึ้นอยู่กับการวินิฉัยของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
-
ผู้ป่วยจะได้รับการรักษา TMS ประมาณ 5 ครั้งต่อสัปดาห์
-
การรักษาโดยรวมประมาณ 20 ถึง 30 ครั้ง ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ป่วย